เด็กสองภาษา เด็กภาษาสองชั้นคืออะไร ต่างกันอย่างไร?

ผมเชื่อว่าเป้าหมายของพ่อแม่ทุกคนอยากให้รู้ตัวเองเป็นเด็กสองภาษาที่มีศักยภาพ พูดภาษาอังกฤษไพเราะ ออกมาจากความรู้สึก แต่หลายท่านอาจจะไม่รู้ว่า การสอนผิดทาง น้องจะไม่ได้เป็นเด็กสองภาษาตามนิยามนี้ แต่จะกลายเป็นเด็กภาษาสองชั้นแทน แล้วมันคืออะไร และอะไรนำไปสู่เส้นทางนี้ หาคำตอบได้ในคลิปนี้นะครับ

สอนลูกเป็นเด็กสองภาษา ควรเลือกสำเนียงอังกฤษอะไรดี?

ภาษาอังกฤษมีอยู่หลายสำเนียง ยิ่งรวมสำเนียงถิ่นเข้าไปด้วยยิ่งมากมาย แล้วพ่อแม่เมื่อเริ่มสอนเราจะใช้สำเนียงไหนดี มาหาคำตอบกัน

ทำไมเราเรียนภาษาอังกฤษมากว่าสิบปี ถึงพูดไม่ได้ฟังไม่ออก?

เพราะสิ่งที่เราเรียนในโรงเรียน ลำดับการเรียนการสอนมันฝืนวิถีธรรมชาติในการเรียนรู้ภาษา เราเน้นเรียนภาษาแบบคณิตศาสตร์ คิดมาก ท่องจำ ในขณะที่เราเรียนภาษาแม่โดยไม่ต้องเรียน แค่เลียนแบบสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในบริบทนั้นๆแล้วใช้ความรู้สึกแทน

รอให้เด็กพูดภาษาไทยให้ได้ก่อนแล้วค่อยสอนพูดสองสามภาษาดีกว่าไหม กลัวเด็กพูดช้าและสับสน!

สังคมไทยโดยส่วนใหญ่เป็นสังคมภาษาเดียว ถึงแม้มีภาษาถิ่นแต่ก็มีความใกล้เคียงกับภาษากลาง พวกเราจึงไม่คุ้นเคยกับการพูดหลายๆภาษาที่มีความแตกต่างกันมากพร้อมกันตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้เรานึกภาพว่าถ้าเด็กต้องรับรู้และพูดมากกว่าหนึ่งภาษาเด็กจะสับสน คำถามข้อนี้ผมไม่ขอตอบเชิงการแพทย์เนื่องจากผมไม่ใช่หมอ แต่ผมอยากจะตอบในเชิงตัวเลขและสังคมมากกว่า ผมอยากให้นึกถึงประเทศเพื่อนบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย หรือสิงค์โปร์ ประเทศเหล่านี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และมีภาษาถิ่นตามเชื้อชาติของตัวเอง เช่นเป็นครอบครัวจีนก็จะพูดจีนในครอบครัว ถ้าเป็นครอบครัวมาเลย์ก็จะพูดมาเลย์ ถ้าเป็นแขกก็จะพูดฮินดีเป็นต้น ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีการพูดมากกว่าหนึ่งภาษา เด็กที่เติบโตมาก็รับรู้และพูดภาษาต่างๆเหล่านั้นเองอย่างเป็นธรรมชาติตั้งแต่เล็กๆ…คำถามก็คือ…เราเคยได้ยินรายงานว่าเด็กในประเทศเหล่านี้เกิดความสับสนในการพูดหลายภาษาหรือเปล่า? …สำหรับผม..ไม่เคยได้ยิน ถ้ามองให้กว้างออกไปอีก ยังมีประเทศที่ต้องพูดสองภาษาหรือมากกว่าอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นฟินแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ ฯลฯ และเราก็ไม่เคยได้ยินรายงานความสับสนของเด็กในประเทศเหล่านี้เลย และถ้าเรามีโอกาสอ่านงานวิจัยที่สรุปมาเป็นบทความหรือข่าวเกี่ยวกับเรื่องสองภาษา เราก็จะเห็นว่าบทความเหล่านั้นสนับสนุนการเรียนรู้มากกว่าหนึ่งภาษา โดยเฉพาะการเรียนรู้ตั้งแต่วัยแบเบาะ  สรุปแล้ว ผมเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความสามารถในการรับรู้และพูดมากกว่าหนึ่งภาษาอยู่แล้ว เด็กไม่สับสน ขอให้สอนเป็นธรรมชาติ เรียนรู้อย่างมีความสุข และจากประสบการณ์การสอนลูกเป็นเด็กสองภาษาของตัวเองตั้งแต่วัยแบเบาะ เด็กไม่สับสนในการพูดสองภาษา และสามารถสลับโหมดการพูดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งได้อย่างอัศจรรย์ ดังนั้นอย่ากังวลเรื่องนี้มากไป ถ้าสนใจเรื่องเด็กสองภาษา ให้ศึกษาแนวคิดให้ดีแล้วก็ค่อยๆเริ่มสอนเลยครับ อย่าพลาดช่วงเวลาทองคำของลูกเลย

สอนลูกเป็นเด็กสองภาษาได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

อยากให้ลูกเป็นเด็กสองภาษา ชอบแนวคิดเด็กสองภาษา แต่ไม่รู้จะเริ่มสอนลูกตั้งแต่เมื่อไหร่ เริ่มตั้งแต่เล็กๆมันจะเร็วไปไหม คนรอบข้างบอกว่ากดดันลูก เดี๋ยวลูกเครียด รอให้โตก่อนแล้วค่อยสอนจะดีกว่ามั้ย พบคำตอบในคลิปนี้

ส่งลูกเรียนภาษาอังกฤษหาฝรั่งสอนดีกว่าไหม?

“เรียนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษา” หนึ่งในโฆษณาที่พบเห็นได้บ่อยและเป็นหนึ่งในความเชื่อหลักของเราทุกคน ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ การเรียนภาษา ถ้าได้เรียนกับเจ้าของภาษา มันก็น่าจะดีที่สุดอยู่แล้ว แต่… ความเป็นจริงนั้น มันมีปัจจัยและรายละเอียดมากกว่านั้น ตั้งแต่ฝรั่งที่เราเห็นนั้นเขาเป็นเนทีฟจริงหรือเปล่า ฝรั่งที่เราเห็นนั้นเขาสอนเป็นไหม แบ็กราวนด์อาชีพเขาจากบ้านเกิดคืออะไร และที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือฝรั่งเนทีฟที่เพียบพร้อมคุณสมบัติที่เราต้องการนั้น ทำไมอยู่สอนแค่แป๊ปเดียวแล้วก็ไป มาค้นหาคำตอบกันนะครับ

ทำไมการท่องศัพท์ถึงจะเป็นผลเสียต่อเด็กในระยะยาว?

การเรียนภาษาอังกฤษในบ้านเรา ในโรงเรียน สิ่งหนึ่งที่ต้องพบเจอตั้งแต่เรายังเป็นเด็กจนถึงปัจจุบันก็ยังทำอยู่ นั่นก็คือการให้เด็กไปท่องศัพท์วันละห้าคำสิบคำ และก็มีการสอบเก็บคะแนนอีกด้วย ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า การทำแบบนี้มันจะส่งผลเสียในระยะยาวกับเด็ก และเกิดสภาวะเป็นพิษต่อความเข้าใจ เป็นพิษต่อความรู้สึกในการพูด ถ้าคุณครูได้อ่านอยู่ คุณครูอย่าทำแบบนั้นเลยนะครับ

พูดจากความรู้สึกคืออะไร ทำไมต้องฝึกให้ลูกพูดจากความรู้สึก?

“การพูดจากความรู้สึก” นี่คือหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่แยกการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดเด็กสองภาษากับภาษาอังกฤษทั่วๆไป โดยเฉพาะในโรงเรียน เพราะเราไม่แปล ไม่ท่องศัพท์ ไม่ต้องมีสคริปต์ แต่กระบวนการฝึกเราเน้นให้เด็กค่อยๆพูดออกมาจากความรู้สึกภายในเอง ไม่ต่างกับเราที่พูดภาษาไทย โดยไม่ต้องคิดเรื่องไวยากรณ์ ใช้ความรู้สึกล้วนๆ และยังมั่นใจ ทั้งที่ไม่เคยท่องศัพท์ภาษาไทยสักคำ ที่น่าแปลกใจก็คือ ผมได้นำเสนอแนวคิดเด็กสองภาษา ในเรื่องการพูดจากความรู้สึกมาตั้งแต่ปี 2009 ในหนังสือเด็กสองภาษาพ่อแม่สร้างได้ หลังจากนั้นหลายปี ก็มีฝรั่งเนทีฟ นำเสนอเรื่องนี้อย่างบังเอิญทั้งในเวที Ted Talk และเนทีฟที่สอนเรื่องการออกเสียงผ่าน youtube channel ของตัวเอง นั่นก็เป็นการตอกย้ำความมั่นใจว่าแนวทางนี้คือแนวทางที่ยอมรับในระดับสากล พ่อแม่ที่เพิ่งเข้ามาหรือยังลังเลอยู่กับแนวคิดเด็กสองภาษา ผมอยากให้ฟังสองคลิปด้านล่างนี้อย่างละเอียดครับ คนไทยทุกคนพูดภาษาไทยด้วยความรู้สึก เราไม่จำเป็นต้องนึกถึงไวยากรณ์ภาษาไทยระหว่างพูด แต่เราพูดได้ถูกต้องตามหลักภาษา คิดกับพูดพุ่งออกไปพร้อมกัน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มาจากกระบวนการเลียนแบบที่เราถูกขัดเกลามาตั้งแต่เล็กจนโต เรารู้สึกดีและมั่นใจเมื่อเราพูดภาษาแม่ แนวคิดเด็กสองภาษาเป็นการจำลองสภาพแวดล้อมให้เด็กเรียนรู้ภาษาที่สองดั่งเช่นภาษาแม่ จุดเริ่มต้นการสื่อสารแต่ละคำ เด็กจะต้องถูกบังคับให้ตีความการสื่อสารด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เช่นเมื่อเราเจอแมว เราได้เห็นแมว เราได้กลิ่น เรามีโอกาสสัมผัสขน เราได้ยินเสียงแมวร้อง จากนั้นแม่ก็สะกิดเราแล้วบอกว่า “ลูก…นั่นแมว!” และด้วยสัญชาติญาณของมนุษย์ เราจะตีความและ “เลียนแบบ” แต่ในช่วงแรกๆนั้น เราอาจจะออกเสียงอักขระไม่ชัดเจน […]

ทำไมการสอนเด็กสองภาษาต้องอาศัยแนวคิด?

บ่อยครั้งเวลาที่ผมบรรยายเรื่องแนวคิดเด็กสองภาษาไม่ว่าจะเป็นเวทีเล็ก เวทีใหญ่ หรือให้สัมภาษณ์กับนิตยสารไปจนถึงรายการทีวี ก็มักจะมีคำถามยอดฮิตประมาณว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีและขอหลักแบบง่ายๆในการสอน เมื่อตั้งต้นคำถามมาแบบนี้ ผมก็ตอบไปทุกครั้งว่าเคล็ดลับการสร้างลูกเป็นเด็กสองภาษานั้นมีแค่สองเรื่อง นั่นก็คือหนึ่ง..พ่อแม่จะต้องทำความเข้าใจแนวคิดเด็กสองภาษาอย่างลึกซึ้ง อย่าสอนโดยไม่มีหลักอะไรจับยึด เพราะนั่นอาจจะทำให้การสอนผิดทาง พ่อแม่อาจจะไม่สามารถส่งเด็กเป็นเด็กสองภาษาได้ ซึ่งก็จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ทิ้งช่วงเวลาทองคำไป สอง..พ่อแม่จะต้องเข้าใจวิธีการดูแลเสียงของเด็กให้ได้ เพราะพ่อแม่ต้องเป็น “ต้นแบบ” และเป็น “โค้ช” ที่ช่วยดูแลการฝึกให้เป็นเด็กสองภาษาที่ออกเสียงได้อย่างมีคุณภาพ ถึงแม้พ่อแม่จะไม่เก่งอังกฤษก็ทำได้ เพียงแต่สิ่งที่พ่อแม่ต้องเก่งก็คือ..เก่งการดูแลการฝึก สิ่งที่ผมตอบไปสั้นๆเพียงสองข้อ แต่จริงๆแล้วมันมีการเชื่อมต่อร้อยเรียงกันของแนวคิดทั้ง 9 ข้อ มีความลึก มีรายละเอียดในแต่ละข้อว่าเหตุใดถึงต้องทำแบบนั้น ทำไมถึงทำแบบนี้ ถ้าทำไม่ครบจะส่งผลอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมอยากให้พ่อแม่ที่กำลังสอนลูกเป็นเด็กสองภาษาได้รับรู้อย่างลึกที่สุด

อ่านหนังสือแล้วทำไมต้องมีโค้ชดูแลอีก?

เปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับการเล่นกีฬา สามารถเล่นเองได้ แต่ถ้าต้องการเป็นนักกีฬาและเล่นให้เก่ง นักกีฬาเกือบทุกคนก็ต้องมีโค้ช เพื่อช่วยดู ช่วยประเมิน ปรับแก้ไขและออกแบบการฝึกให้

1 36 37 38 39 40